by meepole
จากปัญหาของน้ำประปาที่คุณภาพไม่น่าไว้ใจในช่วงน้ำท่วม เช่น มีสี มีกลิ่น ขุ่น ทำให้หลายๆคนไม่สบายใจที่จะดื่มหรือนำไปใช้ ซึ่งวิธีแก้หรือเลี่ยงปัญหาดังกล่าวก็มีคำแนะนำมากมาย บางคนที่มีเงินก็สามารถซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดมาดื่ม หลายครอบครัวช่วงนี้ก็ซื้อตุนไว้มากมาย บางคนได้รับบริจาคก็อาจสะสมไว้ทานจนกว่าน้ำจะลด บางคนอาจตั้งใจดื่มน้ำบรรจุขวดหรือถังลิตรไปตลอดเลย ดังนั้นการพิจารณาเลือกน้ำดื่มบรรจุขวดจึงมีความจำเป็น เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ...ไม่ว่าคุณจะคิดหรือปฏิบัติอย่างไร ลองอ่านข้อเขียนที่ meepole รวบรวมเรียบเรียง ด้วยความตั้งใจและปรารถนาดีแล้วตัดสินใจกันดูนะคะ
ร่างกายคนเราต้องการน้ำไปเพื่ออะไร
- เพื่อรักษาความสมดุลต่างๆของร่างกาย
- เพื่อใช้ในปฏิกิริยาและกระบวนการต่างๆ
- เพื่อชำระของเสียส่วนเกินออกไปจากร่างกาย
- เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง
น้ำดื่มบรรจุขวดที่วางขายกันตามท้องตลาดมีมากมายหลากหลายยี่ห้อ ภาชนะที่ใช้บรรจุก็เป็นพลาสติกที่แตกต่างกัน และน้ำก็ผลิตด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกันอีกหลายตัวเลือกไม่รวมสารพัดน้ำแร่ ที่ไม่รู้แร่แท้หรือเทียม (แต่อยู่นอกเหนือหัวข้อที่จะเขียนตอนนี้) ดังนั้นการเลือกดื่มน้ำดื่มบรรจุขวดหรือถังก็ตามจึงควรคิดพิจารณาให้ดีเช่นกัน เพราะเราต้องดื่มน้ำกันทุกวัน มีข้อให้ค่อยๆนำไปประกอบการตัดสินใจโดยmeepole จะเขียนประมาณ 3-4 ตอน
ข้อควรพิจารณาในการเลือกน้ำดื่มบรรจุขวดให้เสี่ยงอันตรายน้อยที่สุด
ข้อควรพิจารณาในการเลือกน้ำดื่มบรรจุขวดให้เสี่ยงอันตรายน้อยที่สุด
เลือกอย่างไรให้อันตรายน้อยที่สุด
1. เลือกภาชนะที่ใช้บรรจุ
ปัจจุบันภาชนะที่นิยมใช้บรรจุน้ำดื่มมี 4 ชนิด คือ
1. ขวดแก้วใส
3. ขวดพลาสติกเพท (Polyethylene terephthalate, PET) มีลักษณะใสและกรอบ และเนื่องจาก PET มีสมบัติป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้ดีกว่าพลาสติกทั่วไปและทนต่ออุณหภูมิได้ช่วง 70 ถึง 100 องศาเซลเซียส มักนำไปใช้เป็นขวดบรรจุน้ำอัดลม น้ำดื่ม น้ำมัน น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำยาบ้วนปาก กล่องขนม เป็นต้น
4.พลาสติกชนิด PC (พอลิคาร์บอเนต) เป็นพลาสติกที่มีลักษณะใส แข็ง และทนความร้อน ใช้ทำผลิตภัณฑ์หลายชนิดเช่น แผ่นหลังคา ขวดนมเด็ก ขวดน้ำ (ขวดบรรจุน้ำขวดใสแข็ง สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียวอ่อน) ภาชนะบรรจุอาหารที่สามารถเก็บในตู้เย็นและนำเข้าไมโครเวฟได้ด้วย เป็นต้น
ตัวนี้ค่อนข้างอันตรายต่อผู้บริโภค ที่meepole อยากจะให้ผู้อ่านทราบคือ มีการศึกษาพบว่าขวดน้ำดื่มที่ทำจากโพลีคาร์บอเนตจะแพร่สารบิสฟีนอล เอ ออกมามากกว่าปกติถึง 55 เท่าเมื่อใส่น้ำร้อน แล้วสารนี้ส่งผลอย่างไร ลองอ่านเรื่องสั้นในกรอบนี้ดูค่ะ
การดื่มน้ำจากขวดพลาสติก (PC) จะเป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศหญิง โดยไม่รู้ตัว
"จากการศึกษาพบว่าขวดน้ำดื่มที่ทำจากโพลีคาร์บอเนตจะแพร่สารบิสฟีนอล เอ ออกมามากกว่าปกติถึง 55 เท่าเมื่อใส่น้ำร้อนไม่ว่าจะเป็นขวดเก่าหรือขวดใหม่ก็ตาม เพราะในบรรจุภัณฑ์พลาสติกทุกชนิดรวมทั้งขวดนมทารก จะมีสารบิสฟีนอล เอ ปนเปื้อนอยู่ การศึกษาโดยFDA ในสภาพการใช้งานปกติพบว่ามีการแพร่ของบีสฟีนอล เอ จากขวดน้ำขนาด 5 แกลลอนเข้าไปในน้ำที่เก็บไว้ 39 สัปดาห์ อยู่ในช่วง 0.1 – 4.7 ส่วนในพันล้านส่วน การดื่มน้ำจากขวดพลาสติกจะเป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง" US
เรื่องนี้ก็น่าคำนึงมากสำหรับทารกเพศชาย แต่ก็ไม่ต้องตื่นตระหนกมากเกินเหตุ เพราะที่ทานก็ทานกันไปแล้วเป็นกันไปมากแล้ว เอาที่กำลังจะทานก็หลีกเลี่ยงไม่ใช้ก็แล้วกัน เพราะอะไรๆมันเกิดเพราะเราทานกันมากและนานต่อเนื่องนั่นเอง
(อันนี้อ้างอิงมาจากหนังสือที่ meepole เขียนขึ้น มีสนพ.ซื้อลิขสิทธิ์ไปพิมพ์แล้ว แต่ไม่ขอปชส.ในนี้เพราะไม่ได้ตั้งเป้าจะขายหนังสือในบล็อกเจ้าค่ะ)
การเลือกซื้อน้ำจากขวดใสก็มีข้อได้เปรียบตรงที่ความใสของภาชนะทำให้เห็นน้ำดื่มได้ชัดเจน ซึ่งความใสและความขุ่นของน้ำดื่มก็เป็นดัชนีบ่งชี้ความสะอาด ความปลอดภัยของน้ำดื่ม ที่ผู้บริโภคจะสังเกตได้ง่ายที่สุดในการเลือกซื้อ
ในปัจจุบัน ผู้บริโภคที่เป็นร้านอาหาร และครอบครัวที่ดื่มน้ำกันมากๆมักนิยมซื้อน้ำบรรจุถังขนาด 20 ลิตร เพื่อบริโภคในครัวเรือนกันมากยิ่งขึ้น ต้องระวังในเรื่องความสะอาด ปลอดภัยของภาชนะที่ใช้บรรจุ รวมทั้งการเลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุถังอย่างไรให้ปลอดภัย ควรดูฝา ตรวจถังพลาสติกว่าไม่สกปรก ไม่มีรอยขีดข่วนมากนัก ก้นถังสะอาด ตัวถังพลาสติกไม่เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองเป็นต้น
เมื่อทราบชนิด ประเภทของภาชนะบรรจุและข้อมูลแล้ว คงพอตัดสินใจได้ในระดับหนึ่งแล้วนะคะ
เมื่อทราบชนิด ประเภทของภาชนะบรรจุและข้อมูลแล้ว คงพอตัดสินใจได้ในระดับหนึ่งแล้วนะคะ
แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีข้อกำหนดตามกฎหมายเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอาหารประเภทพลาสติก คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ.2548 เรื่อง กำหนดคุณภาพมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกไว้แล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้เราควรระมัดระวังเอาใจใส่ด้วยตัวของเราเองจะดีกว่า เพราะชีวิตเป็นของเรา
คราวหน้ามาต่อข้อ 2 ค่ะ