by meepole
จากตอนที่แล้วได้บอกว่าสารทุกชนิดเป็นพิษ มากน้อยขึ้นกับปริมาณที่ใช้ ดังนั้นปริมาณที่ใช้จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องระมัดระวัง การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดจึงต้องศึกษาให้รู้ ทำความเข้าใจก่อนใช้ เพราะปริมาณการใช้ที่ถูกต้องย่อมเกิดประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์
ดังนั้นตอนนี้จึงขอเขียนเรื่องของการนำด่างทับทิมมาใช้ประโยชน์ต่างๆกัน ปริมาณ/หน่วย ที่เขียนนี้ผู้อ่านหากไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์อาจนึกจินตนาการปริมาณไม่ชัด ดังนั้น meepole จะนำมาแสดงเป็นสีตามความเข้มข้นต่างๆ เพื่อให้เปรียบเทียบอย่างเห็นภาพ (ต้องไปเตรียมที่ห้องปฎิบัติการก่อน แล้วจะถ่ายภาพนำมาลงในโอกาสต่อไป) แต่ตอนนี้จำก่อนว่าให้สีชมพูอ่อนใสไว้ก่อน จะปลอดภัยต่อเราและก็ฆ่าเชื้อได้ในระดับหนึ่งแล้ว
การใช้ด่างทับทิมล้างผัก ผลไม้
วิธีการใช้คือ ใช้ปริมาณด่างทับทิม 3-5 เกล็ดต่อน้ำ 2 ลิตร (เกล็ดด่างทับทิมเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน บางบริษัททำจนเป็นผง ก็คงต้องลองค่อยๆใส่ทีละน้อยๆแล้วคนให้ละลาย พอเริ่มเห็นเป็นสีชมพูอ่อนก็ใช้ได้)
การตวงน้ำก็ใช้ขวดน้ำดื่มวัดปริมาตรน้ำ ไม่แน่ใจว่าใช้ปริมาตรน้ำเท่าใดก็เอาไปผสมในขวดน้ำดื่ม แล้วดูปริมาตรน้ำที่ข้างขวดว่าปริมาตรเท่าใด (จะได้สีชมพูอ่อนใส ดูรูปจากบทความก่อนหน้านี้) และคนให้ละลายหมดก่อน(เขย่าขวดเบาๆก็ง่ายดี) จึงใส่ผักลงไป (ในกาละมัง หรือภาชนะ ไม่ไช่ในขวดนะเจ้าคะ) แช่ผักทิ้งไว้นานอย่างน้อย 10 นาที และไม่ควรนานเกินไป แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 2 ลิตร นาน 2 นาที หรือสังเกตดูต้องไม่มีสีชมพูค้างอยู่
การตวงน้ำก็ใช้ขวดน้ำดื่มวัดปริมาตรน้ำ ไม่แน่ใจว่าใช้ปริมาตรน้ำเท่าใดก็เอาไปผสมในขวดน้ำดื่ม แล้วดูปริมาตรน้ำที่ข้างขวดว่าปริมาตรเท่าใด (จะได้สีชมพูอ่อนใส ดูรูปจากบทความก่อนหน้านี้) และคนให้ละลายหมดก่อน(เขย่าขวดเบาๆก็ง่ายดี) จึงใส่ผักลงไป (ในกาละมัง หรือภาชนะ ไม่ไช่ในขวดนะเจ้าคะ) แช่ผักทิ้งไว้นานอย่างน้อย 10 นาที และไม่ควรนานเกินไป แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 2 ลิตร นาน 2 นาที หรือสังเกตดูต้องไม่มีสีชมพูค้างอยู่
อันนี้จะช่วยป้องกันอหิวาตกโรค (cholera) และโรคที่มากับน้ำบางชนิดได้
และยังสามารถช่วยลดสารเคมีตกค้างได้ประมาณ 30-40% ด้วย
และยังสามารถช่วยลดสารเคมีตกค้างได้ประมาณ 30-40% ด้วย
หมายเหตุ หากสังเกตุให้ดีขวดน้ำดื่มแต่ละยี่ห้อมีปริมาตรไม่เท่ากัน เป็นเรื่องของการทำธุรกิจกับราคา ที่บางครั้งผู้ซื้อไม่สังเกตุเทียบปริมาตรดูแต่ราคา เพราะต่างเล็กน้อย ขวดแรกเขียนว่า 1500 ml (คือ1.5 ลิตร) ขวดที่สองเขียนว่า 600 ml (คือ 0.6 ลิตร) ขวดที่สามเขียนว่า 500 ซม3 (นี่ล่ะครึ่งลิตร) ขวดที่สี่เขียนว่า 330 ml หรือ 330 มล. สุดท้ายแก้วน้ำเขียนว่า 220 cm3
อันนี้อย่าเข้าใจผิดคิดว่า meepole ใส่หน่วยวุ่นวายจังนะคะ เพราะนี่ลอกมาจากข้างขวดเลย หน่วยปริมาตรน้ำดื่มก็ยอดมากของใครของมัน หน่วยไทยบ้าง ตปท.บ้าง งงดี ไม่มีอะไรเป็นมาตรฐานเลย
ช่วงนี้ที่น้ำใช้ไม่สะอาดก็หลีกเลี่ยงการทานผักสด หากมีเปลือกก็ปอกผิวเปลือก ผลไม้ก็เช่นกัน แต่หากอยากทานจริงๆก็ควรทำตามวิธีข้างต้น
ตอนหน้าจะเป็นเรื่อง การใช้ด่างทับทิมเพื่อแก้น้ำกัดเท้า