Tuesday, 16 October 2012

พิษภัยจากอาหารทะเล

 
 
 
ภาพที่ดูเหมือนจะให้ขำขันแต่คิดให้ดีแล้ว น่าจะขำไม่ออกนัก เพราะขนาดเจ้าฉลาม 2 ตัวนี่ยังกลัวปรอทที่สะสมตกค้างในร่างกายของคนเราเลย ทั้งนี้เพราะเราบริโภคอาหารทะเลที่ปนเปื้อนโลหะหนักหลายชนิด ขนาดฉลามยังขยอง!!

ว่าแต่..ปรอทในทะเล มาจากไหน (ปรอท จัดเป็นโลหะหนักค่ะ)


 
หลังจากอุบัติเหตุน้ำมันรั่วไหล แม้กระทั่งปล่อยน้ำมันทิ้งในทะเลจากงานวิจัยต่างๆมีข้อมูลว่าจะตรวจพบโลหะบางชนิด เช่น สารหนู เพิ่มสูงขึ้นมาก ส่วนสารปรอทนั้นพบสูงเพิ่มขึ้นในอากาศ สารพิษจากน้ำมันได้ถูกส่งผ่านห่วงโซ่อาหาร ผ่านหอยแมลงภู่ เพรียง หอยฝาเดียว และส่งผ่านไปยังสัตว์ที่กินสัตว์เหล่านี้เป็นอาหารและสามารถสะสมในสิ่งมีชีวิตต่างๆในทะเล
การตรวจพบโลหะและโลหะหนักตกค้างในตะกอน สัตว์ทะเล ที่นำมาจากแหล่งน้ำมันรั่วไหลลงทะเล ตรวจพบโลหะหนักจำนวนมาก บางชนิดเป็นสารก่อมมะเร็งกลุ่มที่ 1 2A, 2B หรือกลุ่ม 3 เช่น สังกะสี แมงกานีส สารหนู (กลุ่ม 1) โคบอลท์ (กลุ่ม 2B) โครเมียม (กลุ่ม 3) ซีลิเนียม ปรอท (กลุ่ม 3) แคดเมียม (กลุ่ม 1) ทองแดง ตะกั่ว (2A/2B) นิเกิล (กลุ่ม 1)  ดีบุก แอนติโมนี และวานาเดียม โดยเฉพาะนิเกิล (กลุ่ม 1) และวานาเดียม นั้นพบมากในน้ำมันดิบ
การปนเปื้อนโลหะในอาหารทะเลจะแตกต่างกันขึ้นกับแหล่งน้ำมัน ชนิดของสิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อม  มลพิษที่ปนเปื้อนในน้ำทะเลและแหล่งน้ำธรรมชาติจะปนเปื้อนมากับสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารพิษไปทีละน้อย ๆ ในที่สุดเมื่อสารพิษถูกสะสมมากขึ้น สารพิษบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง จึงสามารถชักนำให้เกิดเป็นมะเร็งได้ โลหะและโลหะหนักบางชนิดไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็งแต่ทำลายระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น สารปรอททำลายระบบประสาท โดยเฉพาะทารกในครรภ์ถ้าได้รับสารปรอทจะทำให้มีสติปัญญาต่ำ มีพัฒนาการต่ำกว่าอายุจริง นอกจากนี้สารเคมีหลายชนิดทำลายตับและไต สารพิษบางชนิดทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย ทำให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายไม่เป็นปกติ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้
หากคนไทยไม่ช่วยกันดูแลทะเลให้สะอาด  ทิ้งขยะของเสียต่างๆ ไม่ช่วยกันเฝ้าระวังการลักลอบทิ้งสารเคมีและน้ำเสียลงทะเลและแหล่งน้ำธรรมชาติ ในที่สุด คนไทยต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติอาหารจากสารพิษ และการเผชิญวิกฤติสารพิษในอาหารในอนาคต  แม้แต่ฉลามยังรังเกียจคนเลย หุหุ