Saturday 5 May 2012

สารก่อเกิดการเบี่ยงเบนทางเพศ (2)


by meepole

ปกติร่างกายคนเราจะสร้างฮอร์โมนเพศเพื่อกำหนดลักษณะประจำเพศ เพศหญิง เพศชาย สำหรับเพศชาย "เทสโตสเตอโรน" (testosterone) เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นตัวกำหนดลักษณะประจำเพศหลาย ๆ อย่าง เช่น หนวด เครา ขนหน้าแข้ง เสียงห้าว ความกำยำล่ำสัน เป็นต้น ผู้ชายที่ขาดฮอร์โมนตัวนี้ไปก็จะมีลักษณะเป็นผู้หญิง ตัวอย่างที่เห็นคือ ขันทีในราชสำนักจีนโบราณเมื่อตัดลูกอัณฑะออกก็หมดลักษณะความเป็นชาย หมดเอกลักษณ์ของเอกบุรุษ ทั้งนี้เพราะลูกอัณฑะเป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน

บทบาทและหน้าที่ของฮอร์โมนเพศชายเทสโตสเตอโรนยังมีอีกมาก ส่วนเพศหญิงมีฮอร์โมน "เอสโตรเจน" (estrogen) เป็นตัวกำหนดลักษณะประจำเพศหญิง ดังนั้นหากมีสารใดที่มารบกวน เปลี่ยนแปลงหรือกระทบต่อฮอร์โมนเพศดังกล่าวย่อมส่งผลต่อลักษณะประจำเพศ

สารอะไรบ้างที่เป็นตัวรบกวน

งานวิจัยในต่างประเทศพบว่า สาร Bisphenol A (สารบิสฟีนอล เอ, BPA) มีลักษณะเป็นตัวรบกวนฮอร์โมน ทำให้ฮอร์โมนเพศในร่างกายของเด็กสับสน ส่งผลต่อการเบี่ยงเบนทางเพศ ซึ่งอาจนำไปสู่พัฒนาการทางเพศก่อนวัยของเด็กและลดความสามารถในการสืบพันธุ์ในอนาคต

การที่สาร BPA สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเพศของเด็กได้นั้น มีข้อมูลงานวิจัยระบุว่า เพราะเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง ทำให้สเปิรม์ (อสุจิ) ลดลง ส่งผลเปลี่ยนพฤติกรรมเพศของเด็กได้

นักวิจัยจาก University of California San Francisco พบหลักฐานจากการทดลองที่มีการเชื่อมโยงระหว่าง BPA กับการลดลงของรังไข่ในผู้หญิง จากการศึกษาพบว่า BPA ส่งผลให้การปฏิสนธิของไข่ลดลงถึง 50%

สารนี้คืออะไร มีในผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง

ชื่อเคมีทั่วไป : Diphenylopropane ; 4,4'-Isopropylidiphenol

สูตรโมเลกุล : C15H16O12

 สาร BPA เป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนต (polycarbonate) นิยมใช้กันทั่วไปเพื่อทำให้ขวดพลาสติกมีความใส มักนำไปใช้ทำขวดน้ำ ขวดนม เหยือกน้ำ ขวดน้ำบรรจุ 5 ลิตร  ใช้ทำถ้วยพลาสติกใส ช้อนส้อม มีดชนิดใส เป็นต้น เป็นวัตถุดิบผลิตเรซินสังเคราะห์สำหรับบุกระป๋องโลหะสำหรับใส่อาหาร เคลือบกระป๋องเครื่องดื่ม

รายงานของ Environment California Research and Policy Center ชี้ให้เห็นว่า ขวดนมพลาสติกใสแบบที่นิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีพิษจากสารเคมีที่เป็นภัยต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโต ระบบประสาท และระบบสืบพันธุ์

สารนี้เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

เมื่อนำขวดพลาสติกหรือกระป๋องที่มีสารบิสฟีนอล เอ บรรจุอาหารหรือเครื่องดื่ม สารบิสฟีนอล เอ อาจหลุดร่อน ออกมาจากบรรจุภัณฑ์ หรือเมื่อบรรจุภัณฑ์ได้รับความร้อนหรืออุณหภูมิสูง ก็จะละลายปะปนอยู่ในอาหารเหล่านั้น เมื่อบริโภคอาหารและเครื่องดื่มจากบรรจุภัณฑ์อันตรายนั้นก็จะรับเอาบิสฟีนอล เอ เข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว


 (เพิ่มเติม..นี่เลยเป็นที่มาของการห้ามพ่อแม่ไม่ให้อุ่นขวดนมลูก ขวดนมเด็กทุกชนิดในเตาไมโครเวฟ เพราะขวดนมเด็ก ส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติกชนิดโพลีคาร์โบเนต ควรแช่ขวดนมในน้ำอุ่นๆ แทน ถ้าเป็นไปได้ควรซื้อขวดนมที่ระบุว่า "ปลอดสาร BPA หรือ BPA Free" หรือเลือกขวดนมที่ทำมาจากพลาสติก PP หรือแก้วแทน จะปลอดภัยกว่า)

อันตรายอื่นๆต่อร่างกาย มีอะไรบ้าง

จากผลวิจัยของนักวิทยาศาสตร์กว่า 150 เรื่อง ที่ผ่านการทดสอบในหนูทดลองมาแล้ว และให้ผลว่าสารบิสฟีนอล เอ ก่อให้เกิดอันตรายกับหนูได้แม้ในระดับปริมาณของสารจะต่ำ ซึ่งคำถามสำคัญก็คือ ร่างกายของเราได้รับในปริมาณเท่าไหร่ จึงก่อเกิดอันตราย?

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า สาร Bisphenol A จำนวนเพียงเล็กน้อย เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การเริ่มเป็นหนุ่มสาวช้าลง โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไฮเปอร์ (hyperactivity) และอื่นๆ

ศูนย์พิษวิทยาแห่งชาติ (National Toxicology Programe) ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (National Institutes of Health) ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับอันตรายของบิสฟีนอล เอ ที่อาจส่งผลต่อระบบประสาท พัฒนาการของทารกในครรภ์ เด็กทารก และเด็กเล็กได้ และอาจเป็นสาเหตุก่อมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านมในคนหนุ่มสาวได้เช่นกัน

การตื่นตัวต่อสารนี้

การศึกษาวิจัยถึงอันตรายของ BPA ได้รับความสนใจและโต้เถียงกันยาวนานมาก จนเป็นที่ยอมรับถึงผลกระทบต่อสุขภาพเกี่ยวกับพัฒนาการและระบบสืบพันธุ์ตลอดจนการก่อมะเร็ง เมื่อมีเสียงเรียกร้องถึงความปลอดภัยจากผู้บริโภค จึงมีการจำกัดการใช้สารนี้บ้างแล้ว เช่น ในแคนาดา บางรัฐของสหรัฐอเมริกา (CA) และเดนมาร์ก ห้ามใช้ BPA ในขวดนม ของเล่น และผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ใช้กับเด็ก

วารสารเนเจอร์ ฉบับที่ 7324 ปี พ.ศ. 2553 ได้เผยแพร่ถึงเรื่องที่สหภาพยุโรปได้ทำข้อตกลงร่วมกันในเรื่อง ข้อห้ามสาร Bisphenol A ซึ่งจะมีผลในกลางปี พ.ศ. 2554

อียูสั่งห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขวดสำหรับทารกที่มีสาร BPA
แน่นอนสิ่งนี้ย่อมยังไม่เกิดในประเทศไทย ยังไม่มีองค์กร หน่วยงานใดออกมาเรียกร้องให้เกิดผลในการห้ามจำหน่ายหรือผลิตภาชนะที่มีส่วนผสมสารนี้ กระทั่งการตื่นตัวก็มีน้อยมาก แต่คำถาม คำบ่น ข้อสงสัย มีมากมายเหลือเกินว่าทำไมปัจจุบันจึงมีเพศที่ 3 (ลักษณะเบี่ยงเบน) ออกมากันมาก ก็เพราะเราไม่ใส่ใจ ไม่ระมัดระวัง สารเคมีจากการบริโภค และจากเครื่องใช้ต่างๆทารก (แล้วจะเอามาเขียนเพิ่ม) อนาคตเราคงมีลูกหลานที่มีลักษณะเบี่ยงเบนกันมากขึ้น หากใครไม่อยากมีลักษณะเบี่ยงเบนดังกล่าว หรือไม่อยากให้ลูกมีความเบี่ยงเบนทางเพศก็คงต้องติดตามหาอ่าน และหลีกเลี่ยงภาชนะ หรืออาหารที่น่าสงสัยว่าจะมีสารดังกล่าวปนเปื้อนอยู่


  ตอนที่แล้ว  สารก่อเกิดการเบี่ยงเบนทางเพศ (1)  http://meepole.blogspot.com/2012/03/1.html

คราวหน้าเราจะมาตามว่า   เชื่อไหมว่า น้ำดื่มขวดที่เราดื่มกันน่ะ มีสารที่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ได้ไง??
อ้างอิง
ที่มาภาพ: treehugger.com alibaba.com bombayharbor.com