Sunday 24 July 2011

โลกศิวิไลซ์...โรคศิวิไลซ์ 3

โลกศิวิไลซ์...โรคศิวิไลซ์ 3: ระวังอันตรายที่มาจากแอร์ และ...



คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ มองไม่เห็นปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพอากาศในอาคารบ้านเรือนเท่ากับปัญหาอากาศเป็นพิษตามท้องถนน ว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่า

"ภัยเงียบ" ที่กำลังคุกคามมนุษย์ที่อาศัยในอาคารที่เปิด "แอร์" ตลอดทั้งวัน ไม่มีการระบายอากาศ กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส นอกจากนี้ก็มีฝุ่นละออง แก๊ส สารระเหยต่างๆ เป็นต้น

วันนี้จะเขียนเอาเฉพาะเรื่องเชื้อโรค  จริงๆแล้วตั้งใจเขียนมานานตอนมีข่าว และจนท.ผู้เกี่ยวข้องก็ออกมาให้ข่าวตามระเบียบว่ากำลังตรวจสอบ ต้องรอเวลา ใครอยู่ในวงการคงเข้าใจกันดีว่าเวลาให้ข่าวแบบนี้หมายความว่าอย่างไร ใครไม่รู้ก็เชื่อไป และเมื่อสื่อเลิกตามข่าวจะหายไปเอง หุ หุ เรื่องนี้หากผู้อ่านท่านใจจำเหตุการณ์ที่เกิดได้ก็สามารถโยงเรื่องไปได้และนี่คือคำตอบ....หากไม่ทราบเรื่องหรือลืมแล้วก็ไม่เป็นไร  

ในตึก อาคารใหญ่ สิ่งที่พบบ่อยคือปัญหาแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส แต่เรามักมองไม่เห็น คิดไม่ถึง เชื้อที่พบบ่อยและร้ายแรงมากที่สุด คือ "เชื้อ ลีจิโอเนลลา (Legionella) " มีระบุชัดถึงกรณีที่ผู้อยู่ในอาคารป่วยจากแบคทีเรียชนิดนี้ทุกปี และมีผลการวิจัยของประเทศไทยหลายฉบับที่บอกว่าการสุ่มตรวจ "หอผึ่งเย็น" ในอาคารใหญ่ทั้งหมดพบว่ามีแบคทีเรียลีโอแนลล่าอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้เป็นต้นเหตุของ "โรคปอดอักเสบลีจีแนร์" ถ้าเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคนี้ไม่ใช่เป็นโรคใหม่ แต่ถูกพบได้ทั่วโลกและตลอดทั้งปี โชคดีที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน โชคร้ายคือยังไม่มีวัคซีนป้องกัน  เชื้อแบคทีเรียนี้จะเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเอาละอองไอของน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา นิวโมฟิวลา (L.pneumophila) ปะปนอยู่ ผ่านเข้าสู่ปอด 




n     เชื้อลีจิโอเนลลา      เป็นเชื้อโรคที่พบได้ตามแหล่งน้ำทุกชนิดที่ไม่มีการควบคุมดูแลความสะอาดอย่างเพียงพอ โดยเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ในสภาพปกติ แต่ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวในน้ำ เช่น อะมีบา (amoeba) และโปรโตซัว (protozoa) กินเชื้อดังกล่าวเข้าไปแล้วจะสามารถเจริญ แบ่งตัวได้เป็นทวีคูณภายในเซลล์เดียว จนกระทั่งเซลล์นั้นแตกตัวตายไปและปลดปล่อยเชื้อลีจิโอเนลลาออกมาเพื่อเข้าไปเจริญในเซลล์ตัวใหม่ต่อไป
  
n     เป็นแบคทีเรียที่พบได้เฉพาะในที่บริเวณพื้นแฉะ และพบในแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นในพื้นที่จำกัด เช่น ในระบบแอร์รวม หอผึ่งเย็นในเครื่องปรับอากาศแบบรวมที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงแรม หรือโรงพยาบาล  ถาดรองแอร์ หัวก๊อกน้ำ น้ำพุที่ลักษณะเป็นละอองน้ำฝอยเล็กๆเป็นต้น

หอผึ่ง

ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มจากเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว และปวดหัว อาการจะมี 2 ชนิดคือ
n   ชนิดไม่รุนแรง เป็นแล้วหายได้เองไม่ต้องรักษา และ
n   ชนิดรุนแรง ทำให้ปอดอักเสบหรือปอดบวม โดยจะมีไข้ ไอ และหอบ โดย มีระยะฟักโรค ๒-๑๐ วัน  อาการเริ่มแรกได้แก่ รู้สึกอ่อนระโหยไม่สบาย ปวดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ต้นคอ แขน ขา ปวดศีรษะ และมีไข้ ๓๘.๕-๔๐.๕ องศาเซลเซียส หนาวสั่น ท้องเสียอ่อน ๆ และปวดท้อง ผู้ป่วยจะอ่อนเพลียมาก ๒-๓ วันต่อมา และจะไอแห้ง ๆ บางครั้งเสมหะมีเลือด เจ็บหน้าอก หายใจขัด ระยะนี้ผู้ป่วยจะหายใจถี่ และสับสนไม่ค่อยรู้เรื่อง ผู้ป่วยอาจถ่ายปัสสาวะปนเลือด สุดท้ายจะมีภาวะไตล้มเหลว โพรงเยื่อหุ้มปอดมีสารน้ำ ปอดอักเสบ หรือปอดบวมร่วมด้วย
n   ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้คือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ โรคหัวใจ หรือโรคปอดเรื้อรัง ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า  รวมทั้ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดต่างๆ


ดังนั้นในอาคารใหญ่ๆ เช่นอาคารสำนักงาน โรงแรม  โรงงาน เป็นส่วนที่ต้องระวังการแพร่เชื้อนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคลีจีแนร์ในโรงแรม เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน และเป็นโรคระบาดที่หากเกิดเรื่องแล้วแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก  และโรคดังกล่าวนี้มีการแพร่กระจายระบาดมาแล้วอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทำให้มีประชาชนเกิดการเจ็บป่วย และบางรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตดังที่เคยเป็นข่าวมาแล้ว

ในส่วนประชาชนแบบเราๆยังมีความรู้เกี่ยวกับเชื้อตัวนี้น้อยมาก ดังนั้น วิธีป้องกันโรคดังกล่าว ภาครัฐ หน่วยงานสาธารณสุข จึงควรจะให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อนี้  จริงๆแล้วเจ้าของสถานที่ที่อาจพบเชื้อลีจิโอเนลลาจะต้องมีส่วนช่วยในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคโดยทำความสะอาดบริเวณที่อาจจะเกิดเชื้อลีจิโอเนลลาเป็นประจำ เช่น ถ้าเป็นบ่อน้ำพุที่ต่อท่อออกมาให้คนอาบ ควรจะทำความสะอาดอ่างหรือเติมสารเคมีฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน ลงในบ่อประมาณสัปดาห์ละครั้ง  ทั้งนี้ควรเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจประมาณเดือนละ ๒ ครั้ง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการบำรุงรักษา  ถ้าเป็นหอผึ่งเย็นก็ควรจะทำความสะอาดเดือนละครั้ง 

ดังนั้นการเข้าพักในโรงแรมจึงจำเป็นต้องเลือกสภาพโรงแรมและสภาพห้องที่ดูไม่เก่าโทรมและการใช้บริการต่างๆบางครั้งต้องมั่นใจและเชื่อใจในการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่และระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศว่าเขาได้มีการหมั่นดูแลรักษา หมั่นล้างทำความสะอาดแอร์ภายในอาคาร หอผึ่งเย็น ถาดรองแอร์ ถังกักเก็บน้ำ ดีพอ ซึ่งอันนี้เราคงต้องทำใจ

สำหรับในบ้าน อาคารสำนักงาน ที่ทำงานก็ต้องให้เจ้าหน้าที่ดูแลระบบต่างๆ หมั่นขัดล้างหัวก๊อกน้ำด้วยน้ำยาล้างจาน หรือผงซักฟอกอย่างน้อยทุกๆ-1-3 เดือน  

รู้อย่างนี้ยังไงๆ เวลาจะไปพักที่ไหนก็คงต้องเลือกหน่อยล่ะค่ะ เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เราจะเป็นผู้ได้รับเชื้อดังกล่าว
อ่านแล้วไม่ต้องตระหนก  เอาแค่ตระหนัก ก็พอนะคะ







Thursday 14 July 2011

ก่อบุญ เกิดกุศล

ก่อบุญ เกิดกุศล


สุดสัปดาห์นี้เป็นโอกาสดีของพุทธศาสนิกชนอีกครั้งที่ได้มีโอกาสทำบุญ ในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนา คือวันอาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา และก็อาจเป็นวันหยุดพักผ่อนยาวของอีกหลายๆคนโดยไม่นึกถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนาเลยก็มี อันนี้ก็แล้วแต่บุญสะสมของแต่ละคน
เมื่อวานได้เอาหนังสือไปถวายพระ และได้สนทนาและปรึกษากับท่านเรื่องการทำหนังสือสวดมนต์ของวัด เพื่อให้ใช้เป็นบทสวดทำวัตรเช้าเย็น และบทสวดต่างๆที่จะนำมาใส่ในเล่มเพื่อใช้สวดให้เป็นมงคลชีวิต ตอนหนึ่งท่านได้ปรารภขึ้นมาว่า คนเราเดี๋ยวนี้ส่วนมากได้ทำในส่วนของทานมัยและศีลมัยกัน แต่ยังขาดในส่วนของภาวนามัย  จะสวดมนต์ ฟังธรรมก็หาได้ยาก ไปวัดพระเทศน์ก็จะคุยกันจนพระเทศน์จบ..

ก็เห็นด้วยกับท่านทุกอย่าง แต่นั่นแหละก็เห็นความจริงในสังคมปัจจุบันที่อยู่กับโลกของวัตถุนิยม  การบริโภคเสพสุขไปวันๆ ไม่เข้าใจเรื่อง ชีวิต ไม่คิดมาก สนุกไปวันๆก็พอ  เมื่อมีเรื่องมากระทบ ก็เครียดก็หาทางออกแบบไม่ใช้ปัญญา เสพยา กินเหล้า หาทางออกไม่ได้ก็ฆ่าตัวเองหรือไม่ก็ฆ่าผู้อื่นแบบที่เห็นข่าวกันมากมาย เสียดายจริงๆที่มีโอกาสได้เกิดเป็นคน สามารถฝึกและพัฒนาตน ยกระดับจิตใจได้แต่ไม่ได้ทำ

วันนี้ก็เป็นโอกาสดีอีกครั้งที่เราในฐานะเป็น คน และ เป็น ”พุทธศาสนิกชน” ควรถือโอกาสเข้าวัดฟังธรรม เวียนเทียนเพื่อเป็นปฎิบัติบูชา ขอเชิญชวนไปวัดกันนะคะ เพื่อก่อบุญ เกิดกุศล เป็นมงคลชีวิตที่ดีจริงๆค่ะ และขอนำเรื่อง "บุญ" มาฝากเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องกันค่ะ

คำว่า บุญ เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นที่ใจ ธรรมชาติที่ชำระจิตใจให้สะอาดให้ผ่องใส มีผลได้แก่ความสุขที่เกิดทางใจบุญเกิดได้หลายทาง
 การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำด้วยสิ่งที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ดังนี้
๑. ทานมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ได้แก่ วัตถุสิ่งของให้ธรรมะเป็นทาน เรียกธรรมทาน ให้อภัย เรียกอภัยทานรวม ถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม
. ศีลมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ได้แก่ คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณรหรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาดพ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์  ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม  และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม
 ๓. ภาวนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ได้แก่ การอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด
 ๔. เวยาวัจจมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือกิจการสงฆ์และภาระพระศาสนาด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ
๕. อปจายนะมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการมีกิริยาอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ผู้มีพระคุณและคนทั่วไป
๖. ปัตติทานมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการอุทิศส่วนบุญที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป
๗. ปัตตานุโมทนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการแสดงอนุโมทนาในส่วนบุญร่วมกับผู้อื่นเช่น กล่าวว่า สาธุ เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำก็ขอให้ได้มีโอกาสแสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย
๘. ธัมมเทศนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม ได้แก่การอธิบายบรรยายธรรมะให้แก่ผู้ร่วมโลกที่ร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย
๙. ธัมมัสสวนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม ได้แก่ การฟังธรรมและนำข้อธรรมมาประพฤติปฏิบัติให้พ้นทุกข์
๑๐. ทิฏฐชุกัมม์ คือ บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง เข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

สรุปแล้ว “บุญ ย่อลง  เป็น ๓ ทางด้วยกัน คือ
๑. ทานมัย คือ บุญที่เกิดจากการให้ทาน
๒. ศีลมัย คือ บุญที่เกิดจากการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย คือ บุญที่เกิดจากการเจริญภาวนา
บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ

โลกศิวิไลซ์...โรคศิวิไลซ์ 2

โลกศิวิไลซ์...โรคศิวิไลซ์ !!!...ภัยเงียบ

(ต่อ).......ลองสังเกตุตัวเองดูบ้างว่าเริ่มมีอาการคันจมูก คันตา จามบ่อย แน่นจมูก และเมื่อตื่นนอนขึ้นมาจะมีอาการระคายคอ แห้งมาก ไอ หรือไม่ หากมีก็เป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นว่าคุณอาจกำลังเป็นโรคภูมิแพ้ จากเครื่องปรับอากาศ

เพราะหากคุณปรับเครื่องปรับอากาศอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และประตูหน้าต่างปิดมิดชิดไม่มีอากาศถ่ายเท ก็จะ เสี่ยงโรคทางเดินหายใจ เพราะคุณกำลังอยู่ในห้องที่อากาศเย็นและแห้ง

nอากาศเย็นและแห้งทำให้เซลล์ในโพรงจมูกแห้งลง ทำให้ไม่มีเมือก ที่จะป้องกันเซลล์จากเชื้อโรค เชื้อโรคเลยสัมผัสกับเซลล์ได้โดยตรง  ยิ่งอากาศที่แห้งมาก เช่น อากาศในฤดูหนาว อาจทำให้เยื่อบุในโพรงจมูกแห้ง น้ำมูกหรือเสมหะแข็งเป็นคราบ กรณีนี้ถ้ามีอะไรไปเขี่ยหรือสะกิดเข้า เช่น การแคะรูจมูก การถูจมูกแรงๆ ฯลฯ อาจมีการถลอกและเลือดออกได้ และหากยิ่งมือสกปรก ไม่สะอาดก็เป็นทางติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

nนอกจากนี้ขณะที่อากาศเย็น ๆ เชื้อไวรัสเจริญเติบโตได้ดี แต่เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคในร่างกายทำงานได้ลดลง ส่งผลให้หน้าหนาวมีคนป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ เช่น หวัด ภูมิแพ้ ฯลฯ มากขึ้น และทำให้เกิดโรคติดต่อหลายโรค เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด หัดเยอรมัน ฯลฯ

ดังนั้นการอยู่ในห้องแอร์ที่แออัดไปด้วยคนทำงาน ไม่มีอากาศถ่ายเท ที่ดีพอ ตลอดจนการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ เช่น การสูบบุหรี่ การปรุงอาหาร  การฉีดสเปรย์ต่างๆ ล้วนเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้และโรคทางเดินหายใจอื่นๆได้

ดังนั้นต้องระวัง ไม่ให้ทางเดินหายใจแห้ง ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายง่ายนัก โดยการล้างมือให้สะอาดสม่ำเสมอ ไม่แคะ แกะ จับบริเวณหน้า จมูก ปาก โดยที่ยังไม่ได้ล้างมือ ควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเท อยู่ห่างจากผู้ที่เป็นหวัด  หากอากาศแห้งมากก็ต้องดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ วางแก้วน้ำไว้ใกล้ ๆ ตัวในห้องนอน ห้องนั่งเล่น และโต๊ะทำงาน และต้องไม่ลืมว่าในแต่ละปีควรล้างเครื่องปรับอากาศแบบเต็มระบบ จะช่วยขจัดเอาฝุ่นละออง เชื้อโรคที่เกาะติดอยู่กับส่วนต่างๆ ของเครื่อง และที่ลอยอยู่ในอากาศภายในห้องทิ้งออกไป และที่สำคัญเหนืออื่นใด แต่ละวันต้องเดินออกมาหาที่สูดอากาศบริสุทธิ์บ้างอย่าติดอยู่แต่ห้องแอร์ตลอดเวลา เพื่อสุขภาพที่ดี และช่วยลดความเสี่ยงของโรคไม่พึงปรารถนา

ที่มาภาพ: medicarezine.com

Saturday 9 July 2011

โลกศิวิไลซ์...โรคศิวิไลซ์ !!!...ภัยเงียบ 1

โลกศิวิไลซ์...โรคศิวิไลซ์ !!!...ภัยเงียบ


สมัยก่อนโน้น.....ถ้าร้อนก็ใช้พัด โบกพัดกันด้วยมือ ต่อมามีพัดลม ก็เปิดพัดลมกัน แต่ปัจจุบันยุคใหม่ โลกศิวิไลซ์ เกือบทุกที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือที่เรียกจนคุ้นว่า แอร์ ออกจากแอร์บ้าน เจอแอร์รถยนต์ แล้วก็เจอแอร์ของที่ทำงานต่อ ...ดูแล้วชีวิตสบายดีแท้ แต่มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป  ในความสบายก็มีอันตรายแฝงอยู่ ลองมาติดตามเรื่องราวเพียงส่วนหนึ่ง.........
ตอนนี้คนไทย (อาจชาติอื่นด้วย) ที่ทำตัวเหมือนคนติดแอร์ ไม่ว่าไปที่ใหนถ้าไม่ได้อยู่ในห้องแอร์ แล้วจะรู้สึกอึดอัด  หงุดหงิด งานไม่เดิน สมองไม่แล่นเอาเลยทีเดียวก็มี

การเปิดแอร์ วัตถุประสงค์จริงๆคือ คลายร้อน แต่ปัจจุบัน มีเหตุผลมากกว่านั้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ หรือบริเวณศูนย์กลางการค้า ที่มีการสัญจรมาก เพราะ มีฝุ่นมากก็ต้องปิดหน้าต่าง  ปิดแล้วก็อึดอัด ร้อน ก็ต้องเปิดแอร์ มีใครเคยสังเกตตัวเองไหมว่าวันทั้งวันเราอยู่ในที่ๆมีแอร์เย็นๆ กันกี่ชั่วโมง แล้วรู้สึกว่ามันดีไหมที่เหงื่อไม่ออก ? เอ! ไตจะทำงานหนักเกินไปไหมหนอ ??  meepole จะไม่เขียนเรื่องนี้ .แต่จะเล่าเรื่อง โรคทางเดินหายใจจากแอร์

เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ คือต้นเหตุภัยที่หลายคนมองข้ามในฐานะแหล่งเพาะเชื้อโรคหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะเชื้อที่มีการแพร่ทางอากาศ ยิ่งเปิดนาน ก็ยิ่งรับการสะสมอันตราย

มีการยืนยันจากงานวิจัยมานานและหลายครั้งแล้วว่ามีเชื้อโรคนานาชนิดอยู่ในเครื่องปรับอากาศ และเชื้อโรคที่อยู่ในเครื่องปรับอากาศทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา มักเป็นเชื้อโรคที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และแพร่เชื้อผ่านทางอากาศ ส่งผลให้คนที่ใช้เครื่องปรับอากาศสุขภาพเสื่อมโทรม และเป็นโรคต่าง ๆ มากมาย ทั้ง วัณโรค เชื้อไวรัส โรคสุกใส งูสวัด โรคภูมิแพ้ หืดหอบ ปอดบวม และหัดเยอรมัน โรคเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจ โรคจากการติดเชื้อในปอด และอวัยวะภายในร่างกาย เป็นต้น
มีต่อตอน 2 ค่ะ :)

Sunday 3 July 2011

ลูกตาย เพราะ Baby wipes

อันตรายที่ต้องบอกต่อ

Bacillus cereus

ไม่ทราบว่ามีใครบ้างที่ได้อ่านข่าวนี้ "ลูกตาย เพราะ Baby wipes"   meepole จึงขอเอามาลงเต็มๆ เพื่อให้ช่วยกันระมัดระวัง บอกต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นในบ้านเรา แต่จริงๆแล้ว เรื่องภาวะติดเชื้อ กับผู้ที่อยู่ในสภาวะอ่อนแอ เกิดขึ้นได้เสมอ บังเอิญรายนี้ตรวจพบที่มาเลยได้มีข่าวเตือน แต่คงมีหลายรายที่ได้ตายไปแล้วโดยสาเหตุเดียวกันแต่ไม่ได้ตรวจพบ นั่นก็โชคร้ายสองต่อ.......

"Sandra และ Shanoop Kothari ได้ออกมาบอกว่า Harrison ลูกชายวัย 2 ขวบ ได้เสียชีวิตเนื่องจากเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากการติดเชื้อแบคทีเรียจากกระดาษเช็ดทำความสะอาด หรือ Swabs เมื่อเดือนธันวาคม 2010 ที่ผ่านม
           เขาทั้งสองคนเล่าว่า ลูกฟื้นตัวได้ดีหลังผ่าตัดเอาถุงน้ำที่อยู่ใกล้สมองออก แต่พอจะออกจากโรงพยาบาลอาการก็ทรุดลงอีก เนื่องจากติดเชื้อ Bacillus cereus ทำให้ลุกลามไปยังสมองส่วนอื่น อย่างฉับพลันและรุนแรง ทำให้การทำงานของสมองล้มเหลว และลูกก็จากไป

           แต่เมื่อไม่นานมานี้ องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกาได้ออกมาประกาศว่าจะเรียกเก็บกระดาษทำความสะอาด หรือ Swabs จำนวนหลายสิบล้านชิ้น เนื่องมาจากตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อ Bacillus cereus ซึ่งกระดาษเหล่านี้ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลได้นำมาให้พวกเขาใช้ทำความสะอาดลูกชาย เกือบทุกวัน

           จึงเป็นเหตุให้ Shanoop Kothari ฟ้องร้องโรงพยาบาลในเมืองฮุสตัน ต่อการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนนำไปสู่การสูญเสียของลูกชายของเขา ซึ่งถือเป็นการทำลายครอบครัวอย่างมาก

           Christopher Kelly โฆษกองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกาบอกว่าได้แจ้งให้หน่วยงานของรัฐทราบแล้ว เพื่อการเรียกคืนกระดาษทำความสะอาดเป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้รับรายงานว่ามีการติดเชื้อที่ผิวหนัง จากการใช้ swabs และ swabsticks น่าจะมีความเชื่อมโยงว่าอาจมีเชื้อ bacillus cereus ปนเปื้อนอยู่ และอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงในกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันไม่ดี

           Dr.Aaron Glatt โฆษกประจำศูนย์ติดเชื้อสังคมวิทยา สหรัฐฯ กล่าวว่าเชื้อ Bacillus cereus เป็นแบคทีเรียที่สร้างสปอร์พบในดิน และบางครั้งพบในโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร สามารถทนทานต่อความร้อนได้ จึงต้องผ่านการฆ่าเชื้อที่เป็นมาตรฐาน และการฉีดวัคซีนก็ไม่ได้ป้องกันเจ้าเชื้อแบคทีเรียร้ายนี้ได้"

คงต้องใช้เรื่องนี้เป็นข้อเตือนใจให้เพิ่มความระมัดระวัง ในการใช้วัสดุ หรือของใช้ต่างๆในกรณีของผู้ป่วย ไม่ว่าเป็นเด็กหรือคนชราเพราะภูมิต้านทานอ่อนแอมากกว่าวัยอื่นๆ    ซึ่งปัจจุบันเรามักได้พบเห็นข่าวการป่วยที่จบลงด้วยการตายด้วยเรื่องติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่


ที่มา: http://baby.kapook.com/view27700.html อ้างถึง นิตยสาร รักลูก ปีที่ 29 ฉบับที่ 340 พฤษภาคม 2554