Friday 27 May 2011

เล็กพริกขี้หนู

เล็กพริกขี้หนู  เห็บกัด..ถึงตาย

รอยแผลจากเห็บกัด

ชาวจีน 4 คนเสียชีวิตเพราะถูกเห็บกัดจนติดเชื้อในกระแสโลหิต โดยมีรายงานคนล้มป่วยจากอาการเดียวกันอีก 71 คน
ชาวจีน 4 คนในเมืองซิงหยาง มณฑลเฮอหนาน เสียชีวิตเพราะติดเชื้อฮิวแมน กรานูโลไซติค อะนาพลาสโมซิส หรือ HGA ซึ่งเป็นการติดเชื้อพยาธิในเลือดที่มักพบในปศุสัตว์ โดยสาเหตุเป็นเพราะถูกเห็บกัดและดูดเลือด
มีรายงานว่านับตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.เป็นต้นมาพบผู้ป่วยโรคนี้รวม 75 คน ซึ่งคนที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 40-80 ปี และ คนที่เสียชีวิตล้วนอายุสูงกว่า 55 ปี ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า สภาพอากาศชื้นในพื้นที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เห็บแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

eeddy.exteen.com


โรคดังกล่าวเกิดจากเชื้อโรคแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อสู่คนโดยมีแมลงอย่างเห็บ หมัด เป็นพาหะ
ผู้ที่เป็นโรค HGA จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดจะลดลง ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆล้มเหลวและเสียชีวิตได้ แต่สามารถรักษาให้หายได้ หากเข้ารับการรักษาทันเวลา นอกจากนี้ หากไม่มีการระมัดระวัง ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน

สำหรับผู้ติดเชื้อ HGA จะมีอาการคล้ายเป็นหวัด คือ มีไข้ ปวดหัวรุนแรง และ ปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจากเชื้อเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว หากไม่รีบรักษาจะเสียชีวิตได้ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วมณฑลเฮอหนานพบผู้เสียชีวิตจากเห็บกัดถึง18 คน และ นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาพบผู้ติดเชื้อ HGA กว่า 500 คน

เอาเรื่องนี้มาไว้ใน blog นี้ ไว้เตือนตัว meepole เอง และคนชอบเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสุนัข จะได้ระวังและรู้อาการ  meepole เคยถูกเห็บตัวผู้กัดแล้ว มันจะคันกว่ายุงกัด และคันนานกว่า ไม่เคยคิดว่ามันจะอันตรายมากขนาดนี้

ต่อไปนี้คงต้องระวังมากขึ้นทั้งคนและหมา  อย่าให้ต้องตายเพราะเจ้าตัวเล็กพริกขี้หนูขนาดนี้เลย  เขินจ๊ะ   หุ หุ

อ้างอิงและแหล่งข้อมูล

http://news.sanook.com/1026092-ชาวจีนถูกเห็บกัดดับ4ศพ-ป่วยอีก-71-ราย.html

Wednesday 25 May 2011

คิดแล้ว..........บรื๋อ !!!!


ความสวย..อาบยาพิษ



"ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง"  คำกล่าวนี้ใช้ได้อมตะนิรันดร์กาล  ยิ่งยุคสมัยใหม่นี้ที่ไม่ไช่เฉพาะหญิงเท่านั้นที่ใช้เครื่องสำอาง แต่ผู้ชายก็ใช้เครื่องสำอางกันเป็นว่าเล่น แถมบางคนเอาใจใส่มากกว่าผู้หญิงเสียอีก  ไม่ได้อิจฉาเลยนะเนี่ย !

ความสวยที่ถูกบรรจงเติมแต่ง เป็นความสวยงามภายนอก แต่ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้เพื่อความสวยงามเหล่านั้นประกอบไปด้วยสารเคมีที่สามารถแทรกซึมลึกลงไปใต้ผิวหนัง  โดยเฉลี่ยแล้วพบว่าวัยรุ่นจะใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างน้อย 9 ชนิดต่อวันซึ่งจะมีสารเคมีกระจายไปบนร่างกายอย่างน้อย 120 ชนิด แม้ว่าจะแก้ต่างให้กับตัวเองว่าไม่เป็นไรหรอก ใช้นิดเดียวเองแต่ก็ได้ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องกลายเป็น คนสวยอาบยาพิษอย่างไม่รู้ตัวไปแล้ว เพราะหากคิดให้ดีแล้ว จะพบว่าเราไม่ได้นานๆใช้ครั้ง แต่เราใช้วันละหลายๆครั้งแต่ง แต้ม เติม มิให้บกพร่องกันเชียว เฮ้อ!

หากไม่เชื่อก็ลองดูตัวอย่างส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ด้านล่างนี้ที่มีสรรพคุณที่เขียนไว้ข้างหลอดเพียงว่า ปกป้องผิวจากแสงแดดเนื้อครีมซึมซาบเร็ว ไม่เหนอะหนะ  ลองนับกันเลยนะคะว่ามีสารเคมีเท่าใดที่ละเลงบนผิวหน้า แขน ของคุณ

"………….. Ethylhexyl Methoxycinnamate, Silica, PVP, Phenoxyethanol, EDTA, Chlorphenesine, BHT, Ethanol, Sodium Citrate, 1.476% Titanium Dioxide, Alumina, Sodium Metephosphate, Sodium Methylparaben, 5.000% Ethylhexyl Salicylate, Biosaccharide Gum-1, PEG-40 Stearate, PVP/Hexadecane Copolymer, Propylene Glycol, 3.000% Oxybenzone,Glyceryl Monostearate, PEG-100 Stearate, Cetearyl Alcohol, Caprylic/Capric Triglyceride, Stearyl Alcohol, Dimethicone, Xanthan Gum Imidazolidinyl Urea, Tocopheryl Acetate, Perfume, Methylparaben, Propylparaben, Disodium EDTA, Dipotassium Glycyrrhizinate, Triethanolamine........"

นี่เป็นเพียงเครื่องสำอางหนึ่งชนิดที่ใช้เท่านั้น   แล้ววันนี้คุณใช้เครื่องสำอางกี่ชนิด ได้รับสารเคมีไปแล้วเท่าไร????  คิดแล้ว..........บรื๋อ !!!!

ตระหนักไว้ จะได้ไม่ต้องตระหนก !!!! เวลามีข่าว   

Friday 20 May 2011

การลดความเสี่ยงจากอันตรายในการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ (2)
by meepole
ที่มาภาพ: mrnono.com
 
 
 
**************ต่อจากตอนที่แล้ว***********
 
 
3. จำไว้ว่าคำว่า ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ไช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป

คำว่า ธรรมชาติ “Natural” ไม่ได้หมายความว่าไม่มีพิษ สารจากธรรมชาติหลายชนิดถูกพบว่าเป็นพิษ เช่น สารไลโมนีน (d-limonene) พบในเปลือกส้ม เชื่อว่าช่วยลดโคเลสเตอรอล ปรับระดับน้ำตาลในเลือด แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตัวทำละลายที่ดีทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง ตา และเยื่อเมือก จะเป็นอันตรายต่อบางคนที่แพ้สารนี้ ในเกณฑ์ข้อกำหนดของฉลากสิ่งแวดล้อมบางประเทศมีข้อห้ามใช้สารเหล่านี้

4. ระวังคำว่า “Green”  เพราะมันอาจไม่  “Green”  เสมอไป

คำว่า“Green” หรือแปลตรงได้ว่า สีเขียว ที่ปัจจุบันใช้แทนความรู้สึกว่าปลอดสารพิษ เป็นมิตรกับธรรมชาติ หรือไม่ก็เป็น ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ปลอดภัย   บางครั้งจึงอาจพบเห็นด้วยคำว่า Eco-friendly, Botanical บนฉลากสินค้าต่างๆมากขึ้น ทั้งๆที่คำเหล่านี้ไม่ได้มีนิยามที่บัญญัติเป็นทางการ และผู้ผลิตสินค้าต่างๆก็พยายามออกแบบ ตกแต่งผลิตภัณฑ์ด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ ตลอดจนใช้สีเขียวหรือสีอ่อนหวาน ให้รู้สึกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือเป็นผลิตภัณฑ์ไม่อันตราย

บางผลิตภัณฑ์โฆษณาสินค้าเพื่อให้รู้สึกว่าเป็นสินค้าที่ให้ผลดีและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเช่น มีส่วนผสมของนมแพะ หรือ มีส่วนผสมของวิตามิน E (“With Goat’s Milk”, “With Vitamin E”) เป็นต้น  บางบริษัทก็ใส่รายชื่อส่วนผสมที่มาจากพืชเพื่อบอกว่ามีส่วนผสมที่เป็นประโยชน์เช่น มีส่วนผสมของมะพร้าว ข้าวโพด แต่ความเป็นจริงแล้วในขั้นตอนต่างๆของการผลิต พืชต่างๆเหล่านั้นได้ผ่านขั้นตอนกรรมวิธีที่ผ่านสารเคมีและกระบวนการต่างๆจนพืชเหล่านั้นอาจสูญเสียสิ่งที่เป็นประโยชน์ไปเกือบหมดแล้ว แถมอาจจะมีสารเคมีจากกระบวนการตกค้างอยู่ด้วย

5. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริโภคอาหารซ้ำๆกันนานเกินไป

อันนี้เป็นหลักการที่ใช้ได้สำหรับทุกสิ่งที่บริโภคเข้าไป ทั้งทาน ทั้งทา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่คุณคิดว่ามีประโยชน์ก็ตามเช่นอาหารเสริม วิตามิน ยาบำรุง เครื่องสำอางบางประเภทเช่นโลชั่น ครีมบำรุง ฯ ไม่ควรทานซ้ำๆ ใช้ซ้ำ ติดต่อกันนานๆ (คำว่า ซ้ำ หลักการของ meepole ถือว่านานเกิน 3 เดือนติดต่อกัน) หากจำเป็นต้องทานหรือใช้ก็ควรพักเว้นระยะบ้าง เพราะการใช้ติดต่อกันนานหากผลิตภัณฑ์นั้นมีสารอันตรายเจือปน ร่างกายทำลายไม่ทัน ก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนในที่สุดวันหนึ่งก็จะทำให้เกิดโรคได้

หากผู้ได้อ่านเรื่องหัวข้อนี้แล้วตระหนักรู้ จำให้แม่น นำออกมาใช้ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้หรือบริโภค ก็จะเท่ากับได้ลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยให้ชีวิตแล้ว ชีวิตเราอย่าปล่อยให้เสี่ยงกับสารอันตรายรอบตัวให้มากเกินไป เพราะหากถึงเวลานั้นกว่าจะกลับตัวก็สายเสียแล้ว

Wednesday 18 May 2011

การลดความเสี่ยงจากอันตรายในการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ (1)
by meepole



ชีวิตเราปัจจุบันอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงในเรื่องต่างๆมากมาย บางเรื่องเราก็หลีกเลี่ยงได้ยาก บางเรื่องก็หลีกเลี่ยงได้ แต่หลายสิ่งที่เราไม่หลีกเลี่ยง ผู้เขียนจะคิดในแง่ดีเสมอว่า เพราะไม่รู้  ถ้ารู้ใครจะยอมเสี่ยง เพราะคุณภาพชีวิตไม่ไช่การเสี่ยงโชคซื้อลอตเตอรี่ที่อาจได้รางวัลเป็นมหาเศรษฐีแบบไม่รู้ตัว อันนี้ถ้าเสี่ยงก็มีโอกาสอย่างเดียวคือ เจ็บป่วย เข้าไปนอนโรงพยาบาล  ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าว ทำได้ไม่ยาก ผู้เขียนมีคาถา 5  ข้อ จำให้แม่น เอาออกมาใช้ท่องเมื่อเห็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาล่อตา ล่อใจ

1. ไม่มีอะไรแน่นอน ของมันเปลี่ยนได้เสมอ

อันนี้สำหรับหลายคนที่มักจะติดใจแบรนด์หรือยี่ห้อสินค้าบางชนิด เช่นถ้าน้ำหอมต้อง ยี่ห้อช้าแน่  เครื่องสำอาง แป้ง ลิปสติก ต้อง ลังกะโคม  ครีมบำรุง ยี่ห้อ กาตีเมีย  กาแฟต้อง ยี่ห้อรังนก  หรือไม่ก็ เขามีรู เป็นต้น ในการซื้อใช้หรือบริโภคเราอาจได้ข้อมูลต่อๆกันมาว่าดี ลองใช้ หรือก็สุ่มซื้อแล้วชอบติดใจ ซื้อต่อมาทุกครั้ง และครั้งแรกอาจมีความสนใจอ่านฉลาก (หากเป็นคนที่สนใจเรื่องคุณภาพ) ครั้งต่อไปก็จะคิดว่าไม่เป็นไร ใช้ยี่ห้อเดิมส่วนประกอบก็ควรเหมือนเดิมก็จะเชื่อใจไม่ตรวจสอบอีกต่อไป ซึ่งนี่เป็นสิ่งอันตราย เพราะคุณเชื่อหรือไม่ว่ามีสารเคมีที่มีการผลิต สังเคราะห์ขึ้นใหม่ทุกๆวันตลอดเวลา และแน่นอนการผลิตสินค้า ผู้ผลิตก็จะต้องปรับปรุงบางสิ่งบางอบ่างหรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่างเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้น แปลกขึ้น หรือกระทั่งเพื่อการประหยัดต้นทุนโดยการปรับเปลี่ยนสารบางตัว สารนั้นอาจอันตรายมากขึ้น หรือไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ 

 การอ่านส่วนประกอบต่างๆบนฉลากจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง และผู้เขียนมักได้ยินคำบ่นและคำบอกเสมอมาว่า ก็อ่านแล้วไม่รู้ว่าเป็นสารอะไร รู้แต่ชื่อแล้วจะมีประโยชน์อะไร เลยไม่อ่าน ใช้สินค้าตามที่ดาราโฆษณาดีกว่า  ถ้าเป็นแบบนี้ก็จนใจ เพราะหากเอาใจใส่คุณภาพชีวิตจริงๆก็สามารถศึกษาทำความเข้าใจได้ อย่างน้อย อย. (องค์การอาหารและยา) มักจะออกมาออกข่าวว่าสารใดเป็นอันตรายเป็นสารต้องห้าม   หรือเอาให้ง่ายที่สุดก็ดูฉลากข้างบรรจุภัณฑ์ที่ซื้อว่า มีเครื่องหมาย อย.หรือไม่ ถ้ามีก็ใช้เป็นตัวลดความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง

2. หัดอ่านฉลากบ้าง

เรียนรู้ที่จะอ่านฉลากข้างบรรจุภัณฑ์  ดูสัญลักษณ์ คำเตือนต่างๆ ที่สำคัญคือ วันผลิต วันหมดอายุ เครื่องสำอาง อาหารบางชนิดจะบอกอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บ เพื่อรักษาคุณภาพให้ดีและนาน  นอกจากนี้การเรียนรู้อันตรายของสารเคมีบ่างชนิดที่เป็นส่วนประกอบ แม้ว่าจะไม่ก่ออันตรายในระยะสั้นแต่เมื่อสะสมนานๆในระยะยาว อาจส่งผลอันตรายแบบที่เป็นข่าวมานักต่อนักแล้ว ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงตรงนี้ก็ควรพิจารณาอ่าน ดูฉลากก่อนซื้อ และหากบนฉลากไม่บอกอะไรเลย ก็ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่า..... วางดีกว่า ไม่เอาดีกว่า

ติดตามคาถากันเสี่ยงอีก 2 ข้อ ต่อไปนะคะ:)

Monday 16 May 2011

เชื้อโรค…อันตรายในห้องครัว 4



วิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในแผ่นใยขัดและฟองน้ำ

ศาสตราจารย์กาเบรียลบิตตัน และคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยฟลอริดา ได้ทดลองนำฟองน้ำล้างจานและแผ่นขัดที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ไปอบในไมโครเวฟด้วยกำลังไฟสูงสุด พบว่าแบคทีเรียร้อยละ 99 หยุดทำงานหลังจากอบนาน 2 นาที หลังจากอบเพียง 30 วินาที แบคทีเรียอี โคไล จะตาย ส่วนสปอร์ของแบคทีเรียบาซิลลัส  ซึ่งมักทนความร้อน สารเคมี และรังสี จะตายหลังจากอบนาน 4 นาที


ข้อควรปฏิบัติ 


1.หลังการใช้ฟองน้ำ หรือแผ่นขัดใยทุกครั้ง ควรล้างแล้วบีบน้ำออกให้ได้มากที่สุดแล้วผึ่งลมให้แห้ง ในที่ที่อากาศถ่ายเทดี ไม่ควรแช่จุ่มน้ำไว้ แล้วนำมาใช้ต่อ เพราะจะยิ่งทำให้เชื้อโรคหมักหมมมากยิ่งขึ้น

2.ทำความสะอาดฟองน้ำโดย แช่ฟองน้ำในน้ำส้มสายชู  2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำเปล่าหนึ่งแก้ว ทิ้งไว้ค้างคืน หรือนำฟองน้ำไปตากแดดจัด ๆ อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ทั้งกรดและความร้อนจากแสงแดดจะช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์ได้
อีกสูตรจากห้องวิจัยคือใช้ สารละลายของสารฟอกขาวเจือจาง (10 % chlorine bleach solution) แช่ไว้ 3 นาที จะลดเชื้อได้ถึง37-87 %

3.ต้องหมั่นเปลี่ยนแผ่นขัดใยและฟองน้ำบ่อยๆ กรณีนี้ผู้เขียนเสนอแนะให้ใช้ฟองน้ำในการล้างแต่ละประเภทแยกจากกันเช่น ฟองน้ำล้างแก้ว ฟองน้ำล้างจาน  ฟองน้ำหรือแผ่นใยขัดกระทะ หรือภาชนะที่มัน (oily) แยกหน้าที่กันจะดีที่สุด อย่าใช้แบบอเนกประสงค์แบบที่ติดมากับชื่อเลย จะปลอดภัยกว่า

4.นำไปเข้าไมโครเวฟ อบนาน 2นาที สามารถฆ่าเชื้อ หรือทำให้เชื้อหยุดแบ่งตัว ได้มากกว่า 99% และอันนี้จะช่วยลดกลิ่นได้มากทีเดียว

 ข้อควรระวัง การนำฟองน้ำ หรือใยขัดล้างจานแห้งๆ ไปอุ่นให้ร้อนในไมโครเวฟ อาจทำให้ใยสังเคราะห์ละลาย หรือเกิดไฟไหม้ได้ จึงจะต้องชุบน้ำให้เปียก เสียก่อนแล้ววางบนภาชนะ
ไม่ควรนำใยขัดล้างจานชนิดมีโลหะผสมไปทำให้ร้อนในไมโครเวฟ ฟองน้ำหรือใยขัดเหล่านี้มักจะผสมสีเงิน หรือสีที่มีมันวาว และห้ามนำฝอยขัดหม้อโลหะ (100%) ไปทำให้ร้อนในไมโครเวฟ

ลองอ่านข่าวนี้นะคะ
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงอังกฤษเตือนประชาชนอย่าใช้ไมโครเวฟอบฆ่าเชื้อแบคทีเรียในสิ่งของตามที่มีรายงานการศึกษาของมหาวิทยาลัยฟลอริดาในสหรัฐ เพราะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเขตชาร์ปเชอร์เตือนว่า เกิดเพลิงไหม้ที่เขตเทลฟอร์ดมาแล้ว เนื่องจากเจ้าของบ้านลองนำผ้าเช็ดจานไปอบฆ่าเชื้อโรคในเตาไมโครเวฟ หลังจากวารสารสุขอนามัยสภาพแวดล้อมของสหรัฐตีพิมพ์ผลการศึกษาว่า การนำฟองน้ำล้างจานที่ชื้นไปอบในไมโครเวฟนาน 2 นาทีจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้มากถึงร้อยละ 99 จึงขอเตือนประชาชนอย่างจริงจังว่า ไม่ควรนำผ้าเช็ดจานหรือฟองน้ำล้างจานไปอบฆ่าเชื้อโรคด้วยไมโครเวฟ เพราะมีอันตรายอย่างยิ่ง ทั้งจากกำลังไฟของเตาและจากปริมาณความชื้นในสิ่งที่นำเข้าไปอบ

สรุปได้ว่า วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย คือ การดูแลรักษาบริเวณห้องครัวให้สะอาดและมีสุขอนามัยที่ดีอยู่เสมอ รวมทั้งการใส่ใจกับการทำความสะอาดฟองน้ำ หรือแผ่นใยขัดล้างจาน ผ้าเช็ดภาชนะต่างๆ ซึ่งแต่ละวิธีก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป และที่สำคัญขอกระซิบบอกว่า ควรอย่างยิ่งที่จะแยกใช้ฟองน้ำที่ใช้ออกจากกัน เช่น ใช้ล้างของมัน (oily) พวกกะทะ ตะหลิว หม้อ  ฟองน้ำล้างแก้วน้ำ ของไม่สกปรก แม้ว่ามันจะชื่อว่าฟองน้ำเอนกประสงค์ แต่ก็อย่าใช้เขาทุกงานเลยนะคะ
และควรใช้ที่หั่นเนื้อสัตว์แยกจากที่หั่นผลไม้ออกจากกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนติดเชื้อ เผื่อไว้ว่าที่ใช้หั่นเนื้อนั้นอาจมีเชื้อแบคทีเรียอันตรายหลงเหลืออยู่

หมายเหตุจากผู้เขียน

การเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเชื้อโรคต่างๆไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้ตื่นกลัวหรือเครียดแต่อย่างใด เพราะเชื้อโรคมีอยู่ทุกหนแห่ง แต่เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง เอาใจใส่ในบางจุด ที่อาจมีเชื้ออันตรายแอบแฝงอยู่ และเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มความเสี่ยง เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ร่างกายเราจะอ่อนแอลง จนสามารถติดเชื้อและบั่นทอนสุขภาพลงไปเรื่อยๆได้ อย่างน้อย รู้ก่อน กันไว้ก่อน ดีกว่าแก้ ไช่ใหมคะ :)

อานิสงค์จากการเขียนเรื่องเชื้อโรคอันตรายต่างๆ มอบแด่ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้ข้าพเจ้าทุกท่าน และแด่ ผศ. กรรณิการ์ สรรพานิช  Prof.Dr. Christ Thurston , Dr. Roger Miles (ผู้ล่วงลับทั้งสามท่าน)

 อ้างอิง
Alexa C. Dell, 2002 Do Sponges Clean or Spread Bacteria?http://www.usc.edu/CSSF/History/2002/Projects/J1305.
Ikawa, Judy Y.; Rossen, Jonathan S.  Reducing bacteria in household sponges. Journal of Environmental Health, National Environmental Health Association, July 1999.
เชื้อโรคอันตรายในห้องครัว 4


 ……ต่อจากตอนที่แล้ว…….
  ที่มาภาพ : qwikstep.eu


Saturday 14 May 2011

เชื้อโรค…อันตรายในห้องครัว 3

เชื้อโรคอันตรายในห้องครัว 3


 ……ต่อจากตอนที่แล้ว…….

เชื้อพวกนี้มาจากใหน

ตอนที่ซื้อฟองน้ำหรือแผ่นใยขัด ก็สะอาดๆดีอยู่  ใช้ไปๆ แล้วเชื้ออันตรายบางชนิดมาจากใหน ??

ฟองน้ำและผ้าเช็ดจานเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษและโรคบางชนิด  เชื้อเหล่านี้มาจากอาหารที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุกและจากความชื้น แบคทีเรียที่อันตรายจะมาจากอาหาร เนื้อสด ผัก ซึ่งมักจะถูกปนเปื้อนด้วยแบคทีเรีย

เมื่อหลายปีก่อนในประเทศอังกฤษเคยมีข่าวใหญ่ที่พบว่า ไก่สดที่ผลิตจากฟาร์มที่เชื่อถือได้แห่งหนึ่ง ติดเชื้อซัลโมเนลลา และทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ จนทางรัฐต้องออกข่าวสั่งเก็บ ปิดโรงงานและทำลายเชื้อ

เชื้อซัลโมเนลลา สามารถติดมากับวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ ฯลฯ ซึ่งเราก็จะไม่รู้ เอามาขึ้นเขียงหั่น แล้วใช้ฟองน้ำล้างเขียง ซึ่งทำให้มีเชื้อตกค้างอยู่ได้

สิ่งที่ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียตกค้างบนแผ่นใยขัดและฟองน้ำ แท้ที่จริงแล้วเกิดจากการละเลย หรือไม่ก็ดูแลรักษาและทำความสะอาดที่ไม่ถูกสุขลักษณะ บางครั้งมีเศษอาหารตกค้างในพองน้ำ ทำให้เกิดการเพาะบ่มของเชื้อแบคทีเรีย  ประมาณกันว่าฟองน้ำล้างจาน 1 ชิ้น อาจมีเชื้อแบคทีเรียอี โคไล และซัลโมเนลลามากถึง 10,000 ตัวต่อ 1 ตารางนิ้วเลยทีเดียว

อันตรายแค่ใหน อย่างไร

โดยสถิติจากกระทรวงสาธารณสุขชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากการเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ สะท้อนจากตัวเลขของผู้ป่วยตลอดปี 2552 พบว่ายังคงมีผู้ป่วย ที่ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษมากกว่า 1 แสนรายต่อปี!!   (ข้อมูลสถิติประจำปี 2552 จากกระทรวงสาธารณสุข เรื่องผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ)  ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยนี้มาจากการได้รับเชื้อจากแหล่งต่างๆ จากอาหารเอง จากขั้นตอนการผลิต ตลอดจนจากภาชนะที่ใช้ที่ไม่สะอาดและกระทั่งจากการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่ไม่สะอาดล้างภาชนะ

ครั้งต่อไปมาดู วิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในแผ่นใยขัดและฟองน้ำ กันค่ะ :)

Tuesday 10 May 2011

เชื้อโรค…อันตรายในห้องครัว 2

เชื้อโรค…อันตรายในห้องครัว 2

ต่อจากตอนที่แล้ว                                                                                                         by meepole

เชื้ออะไรที่พบบ้าง

มีการศึกษาทดลองโดยเริ่มจากฟองน้ำใหม่ พบว่าฟองน้ำที่ใช้ในการล้างภาชนะ บางบ้านใช้เช็ดโต๊ะที่ทำครัวด้วย นั้น หลังจากการใช้ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ จะพบแบคทีเรียก่อโรค (food-borne diseases) มากมายทั้งชนิดและปริมาณ เช่น Salmonella, E. Coli, Bacillus,Listeria, Staphylococci, และ Streptococci. (Dell, A.C.) นอกจากนี้ยังพบ Campylobacter  ด้วย

รู้จักเชื้อเหล่านี้กันหน่อยนะคะ (อย่าคิดว่าเป็นวิทยาศาสตร์อ่านยาก ให้คิดว่าเป็นชื่อดารา นางเอก พระเอก ตัวร้าย ก็แล้วกัน)
 อี โคไล (Escherichia coli )  เป็นเชื้อประจำถิ่น/เชื้อฉวยโอกาส ทำให้เกิดอาการท้องเสีย การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ

แคมพิโลแบคเตอร์ (Campylobacter) เชื้อนี้พบว่ามีการระบาดในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา พบปนเปื้อนอยู่มากในเนื้อสดประเภท เนื้อหม ูเนื้อไก่ และเครื่องในไก่ เชื้อนี้ทำให้มีอาการไข้ คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ และมีมูกเลือด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงเฉียบพลัน

ลีสเทอเรีย (Listeria) เป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค ลิสเทอริโอซิส (Listeriosis) ในมนุษย์และสัตว์ พบมากในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ประเภท ready to eat ถ้าเกิดการปนเปื้อนเกินขนาดที่ยอมรับได้สามารถทำให้อันตรายต่อสุขภาพ

ซัลโมเนลลา (Salmonella) เชื้อนี้ติดได้เมื่อกินอาหารดิบที่มีเชื้อนี้เข้าไป เมื่อติดเชื้อชนิดนี้จะทำให้เกิดโรคที่เรียกว่าไทฟอยด์และลำไส้อักเสบกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่อักเสบ

สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococci aureus) เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษที่มีการระบาดอยู่เสมอ เนื่องจากบางสายพันธุ์สามารถสร้างสารพิษที่เรียกว่า เอนเทอโรทอกซิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทนต่อความร้อนได้ดี ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษและเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยในมนุษย์ อาการทั่วไปของผู้ได้รับเชื้อที่พบคือ ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เป็นตะคริวในช่องท้องและอ่อนเพลียในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นแทรกซ้อน หลายรายจะมีอาการปวดหัว เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อแต่มีอัตราการตายต่ำ มักมีอาการดีขึ้นเองภายใน 24 ชั่วโมง


สเตรปโตค็อกคัส (Streptococcus) การติดเชื้อนี้ทำให้เกิดโรคหลายแบบ ขึ้นอยู่กับเชื้อแต่ละเชื้อ
เคลปซิลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae) การติดเชื้อนี้ทำให้เกิดการอักเสบของปอด ทำให้เกิดหนองในปอด และปอดจะถูกทำลายอย่างสมบูรณ์


เอ็นเทอโรเบคเตอร์ โคลกา (Enterobacter cloacae) มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป จึงมีโอกาสปนเปื้อนง่าย มีผลต่อระบบปัสสาวะและระบบหายใจ
เชื้อพวกนี้สามารถเจริญและเพิ่มจำนวนได้ในที่ชื้นเปียก เช่นผ้าเช็ดจาน ฟองน้ำ

 พบเชื้อบนฟองน้ำล้างจานแล้วเกี่ยวกับตัวเราได้อย่างไร ตอนต่อไปค่ะ

Sunday 8 May 2011

เชื้อโรคอันตรายในห้องครัว 1

(กันไว้ก่อน ดีกว่าเจ็บป่วยจาก..เชื้อโรคในบ้าน 3)


                                   by meepole

หันไปมองดูในครัวรอบๆแล้ว ยกเว้นถังขยะ ครัวก็ไม่น่าจะมีอะไรที่น่าจะเป็นแหล่งโปรด หรือเก็บกักเชื้อโรคได้เลยไช่ไหมคะ ลองคิดเดาก่อนอ่านต่อ ว่าอะไรในห้องครัวน่าจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อได้ดี  ติ๊กตอกๆๆๆ


ภาพจาก alibaba.com


ฟองน้ำล้างจาน นั่นเอง
คงเคยอ่านข่าว และได้ยินมาเกี่ยวกับคำเตือนเรื่อง เชื้อโรคในฟองน้ำล้างจาน มาเป็นระยะ แล้วก็เงียบลืมเลือนหายไป  บางครั้งคำเตือนก็เป็นการบอกต่อๆกัน ใครใคร่ระวังก็ระวังกันไป เพราะคำเตือนอาจดูเลื่อนลอย เช่น บอกว่ามีเชื้อ ก็ไม่รู้เชื้ออะไร บอกชื่อก็ไม่รู้จัก ก็เลยไม่บอกดีกว่า รู้แต่ว่าทำให้ท้องเสียได้ แต่บางครั้งผู้เขียนเชื่อว่าการบอกรายละเอียดที่มากขึ้น ชัดเจนขึ้น   มันน่าจะดี อาจจดจำมากขึ้น ระวังมากขึ้น น่าเชื่อถือมากขึ้น ไม่ควรไปคิดแทนว่าคนอ่านรู้หรือไม่รู้ เอาเป็นว่าให้ข้อมูลเท่าที่มีแล้วให้ผู้อ่านเก็บ ตัก ตวง ช้อน กรอง (แล้วแต่ภาชนะ) ที่สำคัญเวลาเอาไปบอกต่อ จะมีเนื้อติดไปมากขึ้น อันนี้เลยขออนุญาตใส่ชื่อสารพัดเชื้อ (ขลังดี หุ หุ )

คุณเปลี่ยนฟองน้ำล้างภาชนะอันล่าสุดเมื่อไหร่??  ถ้าตอบว่าจำไม่ได้แล้ว แสดงว่านานเกินเดือนแน่แล้วเชียว  ลองเคยมองแบบพิจารณาดูฟองน้ำอันที่กำลังใช้ล้างจานหรือภาชนะหรือไม่ว่ามันสะอาดหรือไม่ แค่ใหน ลองดมผ่านๆ บ้างไหม?


เชื่อไหมคะว่าฟองน้ำล้างจาน หรือแผ่นใยขัดล้างจานเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่สกปรกที่สุดอีกจุดของบ้านเลยทีเดียวนั้น สามารถทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ ปอดอักเสบ WOW ! กระเพาะ ลำไส้อักเสบ และเราก็มองข้ามไปอย่างคาดไม่ถึง บางบ้านใช้จนเปื่อยยุ่ยแล้วยุ่ยอีกก็ยังไม่เปลี่ยน พวกแบคทีเรียนี่มันสะสมและซ่อนตัวแฝงตัวเก่ง เผลอๆเจอเชื้อโปรโตซัว บิด  อาเจียน ท้องร่วงท้องเสีย ปวดท้อง ฯ

เคยมีการเก็บตัวอย่างฟองน้ำหรือแผ่นใยขัดที่เรา ๆ ใช้กัน รวมทั้งในร้านอาหารที่นำ"ฟองน้ำ"มาล้างจาน ขัดถูอะไรต่าง ๆ มากมาย มาทดสอบหาปริมาณเชื้อโรคที่ปนเปื้อน พบว่า ในฟองน้ำมีจุลินทรีย์ และแบคทีเรียจำนวนมาก ทั้งชนิดที่ไม่อันตรายร้ายแรงและชนิดอันตราย แบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ หรืออุจจาระร่วง ดังนั้นหากนำฟองน้ำเหล่านั้นไปขัดถูภาชนะ ช้อน ส้อม ฯลฯ ก็มีโอกาสเราเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้

เชื้ออะไรที่พบบ้าง ตอนต่อไปค่ะ :)

Friday 6 May 2011

กันไว้ก่อน ดีกว่าเจ็บป่วยจาก..เชื้อโรคในบ้าน 2 (ต่อ)

กันไว้ก่อน ดีกว่าเจ็บป่วยจาก..เชื้อโรคในบ้าน 2: อันตรายจากแปรงสีฟันที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

การที่ให้รู้ว่าในแต่ละส่วนของบ้านมีเชื้อแบคทีเรียหลากหลายชนิด มีทั้งอันตรายบ้าง ไม่อันตรายบ้าง  
ผู้เขียนไม่ได้ต้องการเพิ่มความเครียดในการที่จะให้กลัวเชื้อโรคจนเกินเหตุ  แต่เพียงจะช่วยให้ผู้อ่านเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เตือนตัวเองให้เอาใจใส่สุขภาพและความสะอาด เรื่องเล็กๆ จะได้ไม่เป็นเรื่องใหญ่ เพราะหากร่างกายเราอ่อนแอก็จะอาจก่อให้เกิดโรคได้ … อย่าคิดว่าเจ้าตัวเล็กๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจะมีปัญญาทำอะไรเราได้ เพราะหลายๆคนเมื่อเจ็บป่วยร่างกายอ่อนแอ เราจะได้ยินบ่อยๆว่า....
 ตาย เพราะติดเชื้อในกระแสเลือด (โรคฮิตค่ะ)

การใช้แปรงสีฟันร่วมกับคนอื่นอาจก่ออันตรายร้ายแรงได้

ดร.ทาเร็ก ไอดริส ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมตกแต่งจากฮาร์เลย์ สตรีท ตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี ซึ่งติดต่อได้ในแปรงสีฟัน และสปอร์ของไวรัสตับอักเสบบี สามารถอยู่รอดได้นานหลายเดือน


สมาคมทันตกรรมแห่งอังกฤษจึงได้ย้ำว่าอันตรายยิ่งร้ายแรงขึ้น หากมีการใช้แปรงสีฟันร่วมกับคนอื่น หลายคนยังทิ้งแปรงสีฟันไว้ในแก้วเดียวกับคนอื่น ซึ่งอาจทำให้เชื้อโรคติดต่อถึงกันหากแปรงสีฟันสัมผัสกัน


 ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำการปฏิบัติดังนี้
1.ให้เปลี่ยนแปรงสีฟันอย่างน้อยทุกๆ 3 เดือน (อันนี้ดูตามเหมาะสม บางคนใช้จนลืมไปเลย และควรล้างแปรงให้สะอาดก่อนเก็บ ก็ลองสังเกตุที่โคนขนแปรงดูนะคะว่าสกปรกหรือไม่ ถ้ามีคราบไม่ว่าสีอะไรติด ก็ควรทิ้งเถอะนะคะ ค่ายาแพงกว่าค่าแปรงค่ะ)
Large_t2
 ที่มาภาพ: psfk.com


2.ไม่ควรใช้แปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น (ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดไม่ไช่แปรงใครก็ใช้ได้)
3.ไม่ควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง (เพราะจะทำให้เหงือกเป็นแผล เพราะบางครั้งเราแปรงแรงๆแล้วมีเลือดออกนั่นล่ะค่ะ จะกลายเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด)
4. หาปลอกใส่แปรงสีฟัน (อันนี้ไม่อยากแนะนำเพราะบางทีมันชื้นมากเกินไป แม้ว่ามีรูระบายก็เถอะ ไม่เหมาะกับบ้านเรา แค่วางแปรงแยกห่างๆกันก็พอค่ะ)
5. ต้องแยกแปรงสีฟันออกจากกันหากมีโรคติดต่อ (อันนี้จำเป็นมากค่ะ แปรงใส่แก้วของใครก็คนนั้น และแยกห่างกันด้วย)

Large_t3
ที่มาภาพ: ideasforhouses.com


ทั้งหมดนี้คงไม่ทำให้เครียดเกินไปนะคะ
เพียงแค่เดินเข้าห้องน้ำไปแวะดูเจ้าแปรงสีฟันหน่อย

ถ้าเขาสกปรกแล้วก็ say good bye! 
 (มีวิธีทำความสะอาดนะคะ แต่ไม่แนะ เพราะคนเขียนก็ไม่ทำ) ใช้วิธี bye bye method
อย่างเดียวค่ะ หุ หุ  :)

Tuesday 3 May 2011

กันไว้ก่อน ดีกว่าเจ็บป่วยจาก..เชื้อโรคในบ้าน 2

กันไว้ก่อน ดีกว่าเจ็บป่วยจาก..เชื้อโรคในบ้าน 2 : การติดเชื้อจากยาสีฟันและแปรงสีฟัน
การที่ให้รู้ว่าในแต่ละส่วนของบ้านมีเชื้อแบคทีเรียหลากหลายชนิด มีทั้งอันตรายบ้าง ไม่อันตรายบ้าง  ผู้เขียนไม่ได้ต้องการเพิ่มความเครียดในการที่จะให้กลัวเชื้อโรคจนเกินเหตุ  แต่เพียงจะช่วยให้ผู้อ่านเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เตือนตัวเองให้เอาใจใส่สุขภาพและความสะอาด เรื่องเล็กๆ จะได้ไม่เป็นเรื่องใหญ่ เพราะหากร่างกายเราอ่อนแอก็จะอาจก่อให้เกิดโรคได้ … อย่าคิดว่าเจ้าตัวเล็กๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจะมีปัญญาทำอะไรเราได้ เพราะหลายๆคนเมื่อเจ็บป่วยร่างกายอ่อนแอ เราจะได้ยินบ่อยๆว่า ตาย เพราะติดเชื้อในกระแสเลือด (โรคฮิตค่ะ)


ห้องน้ำ (ต่อ)

ก่อนหน้านี้ได้เล่าเรื่องเชื้อโรค แบคทีเรีย ในห้องน้ำ ในอุปกรณ์ เครื่องใช้บางชนิด ในห้องน้ำยังมีสิ่งหนึ่งที่สามารถติดเชื้อและเป็นอันตรายถึงชีวิต และบางคนที่ติดเชื้อไป ก็คิดไม่ถึงว่าอาจจะมาจากสิ่งนี้ นั่นคือ ยาสีฟันและแปรงสีฟัน


ยาสีฟันและแปรงสีฟัน

Large_t42
ที่มาภาพ: gfrendz.com

ลองอ่านข่าวนี้แล้วพิจารณากันนะคะ

ระวังยาสีฟันปลอม มีแบคทีเรีย-เชื้อโรคเจือปนอยู่ พบว่าผลิตในประเทศจีนและตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย”

อันนี้แน่นอนเพราะยาสีฟันไม่ไช่ยาฆ่าเชื้อที่จะไม่มีเชื้อโรค ดังนั้นเวลาใช้เสร็จไม่ควรเปิดหลอดค้างไว้ หรือปิดไม่สนิท เพราะคุณอาจได้เชื้ออื่นๆแถมไปโดยไม่จำเป็น
ภัยอันตรายจากแปรงสีฟันเก่า บ่อเกิดโรคร้ายคาดไม่ถึง!Large_t11
ที่มาภาพ: sirjuve.blogspot.com

เจมส์ ซอง นักเคมีจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐฯ ระบุว่าแปรงสีฟันที่ใช้งานนานเกินไป ถือเป็นหนึ่งในวัตถุอันตรายในครัวเรือน และก่อปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไขข้อ และการติดเชื้อเรื้อรัง อาจเกี่ยวพันกับแปรงสีฟันที่ไม่ถูกสุขอนามัยนี้ เพราะแบคทีเรียจำนวนมากจะซุกซ่อนอยู่ในแปรงสีฟัน และแบคทีเรียเหล่านี้เดินทางเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ใช้โดยตรงผ่านรอยแผลเล็กๆ ที่เหงือก แบคทีเรียเหล่านี้บางส่วนเกี่ยวข้องกับการอุดตันของเส้นเลือดด้วย

นอกจากนี้ผลการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในประเทศอังกฤษ พบว่าแปรงสีฟันทั่วๆ ไปเป็นแหล่งอาศัยของเชื้อโรคประมาณ 10 ล้านตัว ซึ่งรวมถึงแบคทีเรียอันตรายอย่างเช่น Streptococcus sp., E. coli และ Candida sp.
ความเสี่ยงที่แบคทีเรียในช่องปากจะเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Porphyromonas gingivalis ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปริทันต์ พบอยู่ในเส้นเลือดที่อุดตันรุนแรง

จากการศึกษาของศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียของสหรัฐฯ ระบุว่าแบคทีเรียในช่องปากของอาสาสมัครที่เป็นโรคหัวใจ ไปปรากฏอยู่ในหลอดเลือดหัวใจเช่นเดียวกัน แบคทีเรียนี้ยังเกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด และการที่ทารกมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหลายก็ควรใส่ใจนะคะ

คราวหน้ามาดูกันต่อ ว่าแล้วอันตรายมากแค่ไหน และป้องกันได้อย่างไร